เมนู

อรรถกถาปัญญาสูตร ที่ 2


ปัญญาสูตรที่ 2

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยากาย แปลว่า อันเป็นเบื้องต้นแห่ง
มรรคพรหมจรรย์. บทว่า ปญฺญาย ได้แก่ วิปัสสนา ปัญญาอัน
เห็นแจ้ง. บทว่า ครุฏฺฐานิยํ แปลว่า ผู้ควรแก่ความเป็นครูอันเป็น
ปัจจัยให้เกิดความเคารพ. บทว่า ติพฺพํ แปลว่า หนา. บทว่า
ปริปุจฺฉิ ได้แก่ ถามถึงเงือนเบื้องต้นเบื้องปลายแห่งอรรถะบาลี.
บทว่า ปริปญฺหติ ได้แก่ ตั้งปัญหา คือ นึกว่าเราจักถามข้อนี้และ
ข้อนี้. บทว่า ทฺวเยน แปลว่า 2 อย่าง. บทว่า อนานากถิโก คือ
เป็นผู้ไม่กล่าวเรื่องต่าง ๆ บทว่า อติรจฺฉานกถิโก คือ ไม่กล่าว
ดิรัจฉานกถามีอย่างต่าง ๆ. บทว่า อริยํ วา ตุณฺหีภาวํ ความว่า
จตุตถฌาน ชื่อว่า อริยดุษณีภาพ แม้มนสิการกรรมฐานที่เหลือ
ก็ใช้ได้. บทว่า ชานํ ชานาติ แปลว่า รู้สิ่งที่ควรรู้. บทว่า ปสฺสํ
ปสฺสติ
แปลว่า เห็นสิ่งที่ควรเห็น. บทว่า ปิยตาย แปลว่า เพื่อ
ต้องการให้เขารัก. บทว่า ครุตาย แปลว่า เพื่อต้องการให้เขาเคารพ.
บทว่า ภาวนาย แปลว่า เพื่อประโยชน์ในเขาชม หรือเพื่อให้เขา
ยกย่อมคุณ. บทว่า สามญฺญาย คือ เพื่อประโยชน์แก่สมณธรรม.
บทว่า เอกีภาวาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่ความไม่ห่างเหินกัน.
จบ อรรถกถาปัญญาสูตรที่ 2